วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ต้นกระบองเพชร

กระบองเพชรเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-12 ฟุต ลำต้นมีสีเขียวหรือเขียวคล้ำ มีขนหรือหนามรอบต้นหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ลักษณะต้นเป็นเหลี่ยมรูปทรงกระบอกรูปรงกลม หรือแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ใบคือส่วนของลำต้นที่ทำหน้าที่แทนใบหรือบางชนิดก็มีใบแบนกลมหน้าใหญ่ดอกสีแดงเหลืองขาวลักษณะดอกขนาดดอกขึ้นกับชนิดพันธุ์


ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกต้นกระบองเพชร
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นกระบองเพชรไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่ากรปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์


การปลูกต้นกระบองเพชร
1. การปลูกต้นกระบองเพชรในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงและขนาดต่างกันแล้วแต่ชนิดพันธุ์คือตั้งแต่ขนาด4-10นิ้วใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ทรายหรือดินร่วนอัตรา1:1ผสมดินปลูกการเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะสมของชนิดพันธุ์และผู้ปลูก แต่ถ้าจะให้เจริญสวยงามต้อง

คบคุมเรื่องปุ๋ย และน้ำให้ถูกวิธี
2. การปลูกต้นกระบองเพชรในแปลงปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน แต่จะต้องเป็นชนิดพันธุ์ ที่ค่อนข้างใหญ่ แข็งแรง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร    ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1:3 ผสมดินปลูก

ต้นกระบก

ชื่ออื่นของต้นกระบก
กระบก กะบก จะบก ตระบก (เหนือ), จำเมาะ (เขมร), ชะอัง (ซอง-ตราด), บก หมากบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะมื่น มื่น (เหนือ), มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), หลักกาย (ส่วย-สุรินทร์)

ลักษณะทั่วไปต้นกระบก
ต้นกระบกเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมขอบขนานถึงรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม ดอกขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน

ขยายพันธุ์ของต้นกระบก
เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสมของต้นกระบก
สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิดต้นกระบก
ตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าดิบ

ต้นกระทุ่ม

ชื่อพื้นเมืองต้นกระทุ่ม:
กระทุ่มคลอง ก้านเหลือง กะเลอ

ลักษณะทั่วไปต้นกระทุ่ม:

ต้นกระทุ่มเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ ปีล่ะ ครั่ง เปลือกสีน้ำตาลปนดำ แต่เป็นร่องตามยาว

ใบต้นกระทุ่ม:
ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปมน หรือ รูปไข่

ดอกต้นกระทุ่ม:
สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกรวมเป็นช่อกระจุกแน่น ที่ตามซอกใบ หรือ ปลายกิ่ง

ผลต้นกระทุ่ม:
ผลสีน้ำตาลเล็กๆ รวมเป็นกลุ่มกลม ผิวขรุขระ สีน้ำตาล ผิวแข็ง

ด้านภูมิทัศน์:
ใช้จัดสวนได้ดี เป็นไม้ที่ทนต่อน้ำท่วมขัง ที่ระบางออกยาก และ ยังช่วยควบคุมการพังทลายตาม ริมน้ำ รากไม่ไม่เยอมากเหมาะแก่ การให้ร่มเงา ดอกก็หอมอ่อนๆ และ สวยงาม
ประโยชน์: เปลือกรากให้สีย้อมสีเหลือง ผลรับประทานได้ ใบรักษาไข้ ไม้ใช้ทำเครื่องเรือน กลอง โทรรำมะนา

ต้นกระท้อน

ลักษณะทั่วไปของต้นกระท้อน
กระท้อนเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15 - 30 เมตร เปลือกต้นสีเทา ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีแกมไข่จนถึงขอบขนาน ขนาดประมาณ กว้าง 6 - 15 ซม. ยาว 8 - 20 ซม. เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองนวล

ผลต้นกระท้อนของต้นกระท้อน
ผลอ่อนสีเขียวมีน้ำยางสีขาว เมื่อผลแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางน้อยลง รูปกลมแป้น ผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ขนาดประมาณ 5 - 15

เซนติเมตร ภายในผลจะมีเมล็ด 3-5 เมล็ด และมีปุยสีขาวหุ้มอยู่ ซึ่งลักษณะ ของปุยและรสชาติจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละพันธุ์ เมล็ดรูปรี มีปลอกเหนียวห่อหุ้ม

ถิ่นกำเนิดต้นกระท้อนและการกระจายพันธุ์ของต้นกระท้อน

เชื่อกันว่ากระท้อนมีถิ่นกำเนิดในอินโดจีนและมาเลเซียตะวันตก ก่อนจะถูกนำไปปลูกที่ประเทศอินเดีย, เกาะบอร์เนียว, ประเทศอินโดนีเซีย, หมู่เกาะโมลุกกะ, ประเทศมอริเชียส, และประเทศฟิลิปปินส์และกลายเป็นพืชท้องถิ่นไป กระท้อนถูกปลูกเป็นพืชเชิงพานิชย์ตลอดพื้นที่ในเขตนี้

ประโยชน์ต้นกระท้อน
ใบสด ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
เปลือกต้น เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
ราก เป็นยาขับลม แก้ท้องเสีย บิด เป็นยาธาตุ

ต้นกระโดน

ชื่อพื้นเมืองของต้นกระโดน
กะนอน ขุย แซงจิแห๊อะบะ ปุย ปุยกระโดน หูกวาง ปุยขาว

ลักษณะทั่วไปของต้นกระโดน
ต้นกระโดนเป็น ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 เมตรผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบดดยมากลำต้นมักเตี้ย กิ่งก้านสาขามาก เปลือกหนา สีเทา
ดอกกระโดน สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุกๆละ 2-3 ดอก สีแดงปลายขาว ดอก ออก ธ.ค-ก.พ
ผล ผลสดแบบมีเนือหลายเม้ด ทรงกลม อวบนำขนาด 5-7 ซม. ผลออก มี.ค-พ.ค

ด้านภูมิทัศน์ต้นกระโดน
ทรงพุ่มกลมทึบ ใบใหญ่ ปลูกในสวนจะมองเห็นแต่ไกลว่าทรงพุ่มเด่น

ประโยชน์ต้นกระโดน
 เปลือกทำเชือก ใบรักษาแผล ดอกเป็นยำบำรุง ใบอ่อนรับประทานได้

ต้นกระดังงา

“กระดังงาไทย” ไม้ต้นดอกหอม สูง 5-12 เมตร แตกกิ่งจำนวนมาก ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งเปราะ เปลือกลำต้นค่อนข้างฉ่ำน้ำและมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปรี ยาว 10-12 เซนติเมตร

ดอกกระดังงาไทย ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อดอกบาน ดอกสีเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น แต่ละกลีบมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกัน ออกดอกตลอดปี ดอกบาน 2-3 วันแล้วร่วง ส่งกลิ่นหอมตลอดวัน และส่งกลิ่นหอมแรงขึ้นในช่วงพลบค่ำ ผลกระดังงาไทย มีผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 5-12 ผล เมื่อแก่สีเหลืองอมเขียว ขยายพันธุ์กระดังงาไทย ด้วยการเพาะเมล็ดกระดังงา

การปลูกกระดังงาไทย ควรปลูกต้นที่มีความสูงประมาณ 1 เมตร ลงแปลงกลางแจ้งเป็นต้นเดี่ยว ห่างกัน 5-6 เมตร ปักหลักและผูกยึดป้องกันลมพัดโยก แต่ละต้นจะมีทรงพุ่มสวยงามและออกดอกดก
การตัดแต่งกิ่งกระดังงาไทย ควรหมั่นตัดแต่งกิ่งยอดที่มีมากเกินไป จะช่วยให้ทรงพุ่มโปร่งและกิ่งไม่ฉีกหัก การปลูกชิดกันเกินไปจะทำให้ต้นกระดังงาไทยสูงชะลูด ทรงพุ่มเบียดกัน และออกดอกได้น้อย


ความเชื่อของต้นกระดังงา
นิยมปลูกกันด้วยชื่อที่เป็นมงคล คนโบราณเชื่อกันว่าการปลูกต้นกระดังงา ทำให้คนในบ้านมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่นับหน้าถือตา มีเงินทองลาภยศ ควรปลูกต้นกระดังงา ทางทิศตะวันออกของตัวบ้าน  เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคล แก่ตัวบ้านและครอบครัวที่อาศัย

ต้นกระซิก

ชื่ออื่น

ครี้ สรี้ (สุราษฏร์ธานี) ซิก (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไปต้นกระซิก

ต้นกระซิก เป็นไม้ยืนต้น บางครั้งรอเลื้อย ลำต้นมีหนาม เปลือกสีเทา เรือนยอดมีลักษณะไม่แน่นอน ใบต้นกระซิกเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยเรียงสลับกันบนก้านใบ ดอกขนาดเล็ก กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ยอด ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นฝักแบน ขอบฝักบางคล้ายมีด เมล็ดรูปไตเรียงติดตามยาวของฝัก ฝักแก่จะไม่แตกแยกจากกัน

ขยายพันธุ์ต้นกระซิก
เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสมต้นกระซิก
ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง น้ำและความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิดต้นกระซิก
ป่าโปร่งในที่ลุ่ม และตามชายห้วยภาคใต้

ต้นกัลปพฤกษ์

ลักษณะทั่วไป

ต้นกัลปพฤกษ์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นกัลปพฤกษ์มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเก็กน้อย
แตกกิ่งก้านพุ่งสู่ด้านบนไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบเป็นแผงมีใบย่อยประมาณ 5-6 คู่ออกเรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่ๆใบบางเรียบ
ปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตรดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้านมีกลิ่นหอม
มีสีชมพูแกมขาวดอกบานจะมีความกว้างประมาณ23เซนติเมตรมีกลีบดอก5กลีบตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองผลเป็นฝักกลม ยาว มีสีดำ เมื่อแก่เนื้อในฝักมีสีขาวกั้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะมีเมล็ดเรียงอยู่ภายใน ฝักหนึ่งยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยทำให้เกิดความประสบผลสำเร็จในชีวิตเพราะต้นกัลปฟฑกษ์ เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความชัยชนะ และความอิสระแห่งผล นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ของเทพเจ้า
เพราะต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ไม้ทิพย์มีคุณวิเศษตามตำนานพระพุทธเจ้าในสมัยโบราณดังนั้นต้นกัลปพฤกษ์จึงเป็น
ไม้มงคลนาม

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไวทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณ
เชื่อว่าการปลูกไม้มีคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ประ
กอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก


การดูแลรักษา

แสง                          ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำน้อยถึงปานกลาง ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง

ดิน                           ชอบดินร่วนซุย ดินปนทราย

ปุ๋ย                           ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1.2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
                               
การขยายพันธ์         การเพาะเมล็ด การตอน วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด

โรคและศัตรู              ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคพอสมควร