วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ต้นขนุน

ชื่ออื่นต้นขนุน : มะหนุน หมักหมี๊ หมากลาง

ลักษณะต้นขนุน : ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่งต้นขนุนเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10 - 15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ ถึงแหลม โคนใบมน ผิวต้นขนุนในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนาผิวใบด้านล่างจะสากมือ ดอก เป็นช่อแบบช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน ดอกเพศผู้เรียกว่า "ส่า" มักออกตามปลายกิ่ง ดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และตามลำต้นยอดเกสรเพศเมีย เป็นหนามแหลม การออกดอก จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน - พฤษภาคม  ส่วนของเนื้อที่รับประทานเจริญมาจากกลีบดอก ส่วนซังคือกลีบเลี้ยง ผล เป็นผลรวมมีขนาดใหญ่

นิเวศวิทยา : มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียเป็นพืชเศรษฐกิจเมืองร้อนที่ให้ผลมีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถ บริโภคทั้งผลดิบและผลสุก นอกจากนี้ยังนำไปแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ มีปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ขยายพันธุ์ต้นขนุน : โดยการเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่งต้นขนุน

ประโยชน์ต้นขนุน : ผลอ่อนใช้ปรุงอาหารผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน เมล็ดปรุงอาหาร เนื้อไม้ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด รากและแก่นให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้ ใบเผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด โรยรักษาบาดแผล

ต้นโกสน


ต้นโกสนเป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทไม้พุ่มขนาดย่อมลำต้นมีความสูงประมาณ 3-5 เมตร ผิวลำต้นต้นโกสนเรียบสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มตรงกลม ใบแตกออกจากต้นและปลายกิ่ง ลักษณะใบมีรูปร่าง สีสันขนาด แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกออกเป็นพวงห้อยลงมาด้านล่างซึ่งออกมาจากปลายกิ่งพวงหนึ่งยาวประมาณ1015เซนติเมตรดอกมีสีชาวดอกเล็กมากมีกลียบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่จะเห็นเกสรตัวผู้เป็ฯเส้นฝอย การบานของดอกเป็นรูปทรงกลม

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกต้นโกสน
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นโกสนไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูก
1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูง ขนาด 10-16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูก ควรเปลี่ยนกระถาง 1-2 ปี / ครั้ง เพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและเมื่อต้องการเปลี่ยน ดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูปเดิมที่เสื่อสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณหน้าบ้านหรือทำเป็นแนวรั้วบ้านเพื่อที่จะสร้างจุดเด่นให้กับบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

ความเชื่อต้นโกสน
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นโกสนไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีบุญบารมี เพราะโกสนโบราณคงกล่าวถึง กุศล คือ การส้างบุญ คุณงามความดีนอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าสามารถช่วยคุ้มครองให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขเพราะคนโบราณเชื่อว่าต้นโกสนเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่ปลูกคู่บ้านคู่มืองโดยสมัยรัชกาลที่5 ทรงนำเข้ามาปลูกไว้ในพระราชวังบ้านขุนนางวัดหลวงเพื่อให้เกิดความร่วมเย็นเป็นสุขตลอดมา

ต้นแก้วมังกร

ลักษณะทั่วไปต้นแก้วมังกร
"แก้วมังกร" อยู่ในวงศ์ Cactaceae หรือ ตะบองเพชร สกุล Hylocereanae มีชื่อพื้นบ้านว่า Dragon fruit และ Pitahaya และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose. แก้วมังกร มีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ในอเมริกากลาง เข้ามาในเอเชียที่เวียดนามก่อน โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศสเมื่อประมาณ 100 ปีมาแล้วและเพิ่งเข้ามาในไทยเมื่อประมาณ 5 ปี แต่เป็นพันธุ์เนื้อในขาวส่วนพันธุ์เนื้อในแดงที่ชื่อแดงสยามเป็นพันธุ์มาจากไต้หวัน เมื่อประมาณ 1-2 ปีนี้เองมีลำต้นยาวประมาณ 5 เมตร มีรากทั้งในดินและรากอากาศ ชอบดินร่วนระบายน้ำดี ชอบแสงแดดพอเหมาะ โล่งแจ้ง แต่ไม่แรงกล้าเกินไป ดอกขนาดใหญ่ยาวประมาณเกือบหนึ่งฟุต

การเพาะปลูกต้นแก้วมังกร
แก้วมังกรเป็นไม้เลื้อยลำต้นอ่อนจำเป็นต้องมีหลักให้ลำต้นเกาะยึดซึ่งหลักจะเป็นไม้เนื้อแข็งหรือเสาซีเมนต์ก็ได้ ถ้าใช้ท่อซีเมนต์เป็นเสาซึ่งรูปทรงกลมภายในกลวงแต่เทปูนไว้ก้นท่อเพื่อไว้ใส่น้ำหล่อเลี้ยงให้เสามีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ฝังท่อซีเมนต์ลงในดินประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร ต้องสูงจากพื้นดินประมาณ 1.5 – 2 เมตร ด้านบนของเสาทำเป็นร้านให้กิ่งเกาะแผ่ขยายออกไประยะปลูก 3 x 3 เมตร เตรียมหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร รอบ ๆ หลัก หลักละ 4 หลุม สำหรับปลูกหลุมละ 1 ต้น รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักเก่า 1 ปุ้งกี๋ เมื่อนำกิ่งพันธุ์ลงหลุมแล้วมัดกิ่งพันธุ์ให้แนบหลักและกันแดดให้ 1 – 2 สัปดาห์

ประโยชน์ต้นแก้วมังกร
แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่สามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ตลอดจนช่วยลดความอ้วนเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีแคลลอรี่ต่ำ แก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงจึงช่วยให้การขับถ่ายสะดวก สบาย อีกทั้งยังมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่ช่วยทั้งในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ กระดูกและฟันแข็งแรง ดังนั้นเป็นผลไม้เสริมสุขภาพ และความงามได้เป็นอย่างดี แก้วมังกรยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกอย่างคือ ช่วยดูดซับสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย เช่น สารตกค้างจากยาฆ่าแมลงที่มากับผักที่เรากินกันทุกวัน สารตกค้างเช่นตะกั่ว ที่มาจากควันท่อไอเสียรถยนต์ และสารอื่นๆ และยังช่วยลดการเกิดมะเร็งอีกด้วย

ต้นแก้ว

ต้นแก้ว (Orange Jessamine) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม

ต้นแก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 - 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด

ความเชื่อ
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว นั้นหมายถึง สิ่งที่ดีมีค่าสูงเป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไปซึ่งโบราณได้เปรีบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เสมือนดั่งดวงแก้ว นอกจากนี้คนโบราณยังมีความเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะแก้วคือความใสสะอาดความสดใสนอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดสดใสมีกลิ่นหอมนวลไปไกลและยังนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธีทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ

ต้นเกล็ดหอย

ต้นเกล็ดหอย (SCROPHULARIACEAE)

เกล็ดหอย (แววมยุรา)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Torenia fournieri Lind
ชื่อภาษาอังกฤษ SCROPHULARIACEAE

ลักษณะทั่วไปต้นเกล็ดหอย
ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเาเลื้อยมีขนละเอียดอ่อนสีขาว ปกคลุม ใบมนรีปลายใบเรียวแหลมขอบใบเป็น จักฟันเลื่อย ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกันสองข้าง ของลำต้น ดอกมีสีม่วงมีกลีบดอก 5 กลีบ รูปกรวยปากแตร ออกดอกในช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและการตัดชำ

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ต้นเกด


ชื่ออื่น
ครินี ไรนี (ฮินดู), เกด (กลาง)

ลักษณะทั่วไปต้นเกด
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอ โดยเฉพาะกิ่งมักหักงอเป็นข้อศอก ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ ปลายหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบ เนื้อใบหนาเกลี้ยง หลังใบสีเขียวแก่เป็นมัน ท้องใบสีขาวหรือนวล ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ผล รูปกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองแสด

ขยายพันธุ์ต้นเกด
โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสมต้นเกด
สภาพดินทราย หรือดินปนหิน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง กลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด
เอเชีย ประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป และตามเกาะต่างๆ

ต้นกุหลาบ

กุหลาบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa hybrida
ชื่อภาษาอังกฤษ Rose

ลักษณะทั่วไปต้นกุหลาบ
ไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นราชินีแห่งดอกไม้ มีทั้งที่ลำต้นตรงและเลื้อยตาม ลำต้นมีหนามแหลมคมใบเป็นใบประกอบ ออกจากลำต้นแบบสลับมีหูใบ 1 คู่ ใบย่อยมี 3-5 ใบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเป็นหยัก ออกดอกตาม ปลายยอด บางชนิดมีกลีบดอกชั้นเดียวบางชนิดมีกลีบดอกซ้อนกันหลาย ชั้น มีสีสันต่าง ๆ มากมาย มีกลิ่นหอมออกดอกตลอดปี กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่ได้รับความนิยมสูงสุด เจริญเติบโตได้ดีในที่ กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง ชอบอากาศเย็น ในเวลากลางคืน และเป็นพืชชอบน้ำ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอน ปักชำ และการติดตา

ต้นกำลังเสือโคร่ง

ต้นกำลังเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐ -๓๕ เมตร วัดรอบลำต้นประมาณ ๑-๒ เมตร เปลือกไม้(ที่ยังไม่ลอก) มีสีน้ำตาล เทา หรือ เกือบดำ มีรูระบายอากาศเป็นจัดขาวเล็กๆ กลม บ้างรีบางปะปนอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะอกออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสีเหลือง หรือ สีน้ำตาล ปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ แคบ ยาวประมาณ ๓-๘ มม.ใบ เป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมหอก หรือรูปหอก เนื้อใบบาง คล้ายกระดาษ หรือ หนา ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม เส้นแขนงใบ ๗-๑๐ คู่ ดอก ออกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ออกตามง่ามใบแห่งละ ๒-๕ ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว ๕-๘ ซม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ปลายค่อนข้างแหลม มีขนที่ขอบเกสรเพศผู้ ๔-๗ อันติดอยู่ที่แกนกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว ๓-๙ ซม. กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี ๓ หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่ หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ผลแก่ร่วงง่าย แบน มีปีก ๒ ข้างปีกบางและโปร่งแสงแหล่งที่พบ มักขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การออกดอกระหว่างเดือน พฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้นไม้

การปลูกต้นกำลังเสือโคร่ง
การเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูก  การเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์  ยังมีการศึกษากันน้อยมาก  ส่วนใหญ่แล้วการปลูกกจะปลูกโดยทิ้งให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ  ไม่ได้มีการเก็บข้อมูลกันอย่างจริงจัง

สรรพคุณต้นกำลังเสือโคร่ง :
เปลือกต้น
- มีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง กลิ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ แต่ถ้าทิ้งจนเปลือกแห้ง กลิ่นทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง
- ช่วยชำระล้างไตให้สะอาด บำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ
- ขับลมในลำไส้
- ใช้บำบัดอาการผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิงไม่สมบูรณ์ มดลูกชอกช้ำ อักเสบเนื่องจากการกระทบกระเทือน แท้งบุตร มดลูกไม่แข็งแรงให้หายเป็นปกติ

ต้นกาฬพฤกษ์

ชื่ออื่น
กัลปพฤกษ์ (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทั่วไปต้นกาฬพฤกษ์
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูงประมาณ 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 10–20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน หลังใบเป็นมัน ท้องใบมีขน ดอก เมื่อเริ่มบานจะมีสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีสันตามลำดับ ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก

ขยายพันธุ์ต้นกาฬพฤกษ์
โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม
สภาพดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ชอบความชื้นน้อย

ถิ่นกำเนิดต้นกาฬพฤกษ์
ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ต้นก้ามปูหลุด

ต้นก้ามปูหลุดนี้เป็นไม้ประดับประเภทคลุมดินใบจะมีสีงดงามและแปลกตาคือใบก้ามปูจะมีสีสามสี
พาดสลับไปตามความยาวของใบ ได้แก่ สีเขียว สีเท่า และสีม่วงเหตุที่ได้ชื่อว่าก้ามปูนั้นก็เพราะว่า
ลักษณะของใบที่แตกออกมาจากลำต้นนั้นคล้ายกับก้ามปู ก้ามปูหลุดเป็นพืชอวบ น้ำขยายพันธุ์ได้ง่าย
เมื่อถูกแสงแดด สีสันจะเข้มสวยงามมาก นิยมปลูกประดับไว้ตามข้างตัวอาคารบ้านเรือนหรือจัดสวน
หย่อม รวมกับไม้ประดับชนิดอื่นๆ

การดูแลรักษาต้นก้ามปูหลุด
แสง     ชอบแสงแดดจัด
น้ำ        ควรให้น้ำในปริมาณที่น้อย แต่ให้บ่อยครั้ง
ดิน       เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
ปุ๋ย       ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 2 ครั้ง หรือ จะให้หลังจากการตัดแต่งทุกครั้งก็ได้

การขยายพันธุ์ต้นก้ามปูหลุด    ปักชำ

โรคและแมลงต้นก้ามปูหลุด       ไม่ค่อยจะพบปัญหาเรื่องโรค และแมลง

ต้นกาแฟ


ลักษณะทั่วไปต้นกาแฟ

ต้นกาแฟเป็นพืชที่เราสามารถนำเข้ามาปลูกภายในอาคารบ้านเรือนได้เพราะเมื่อเรานำเข้ามาปลูกในห้องแล้วมันจะไม่แตกดอก ออกผล แต่จะคงลักษณะคือใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันอยู่ตลอดเวลา กาแฟเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้รวดเร็วมาก เมื่อนำมาปลูกในกระถางมันจะเจริญเติบโตได้ประมาณ 1-2 เมตร กาแฟชอบห้องที่อบอุ่นและทนอยู่ในที่ร่มเย็นได้ไม่กี่วัน ถ้าปลูปในห้องหับหรือในอาคารควรปลูกใกล้หน้าต่างหรือที่ๆ แสงแดดส่งถึงหรือจะใช้แสงจากหลอดไฟฟ้าแทนก็ได้

การดูแลรักษาต้นกาแฟ
    แสง                         ต้นกาแฟชอบแสงสว่าง ควรให้ได้รับแสง  ประมาณ 4-6 ช.ม. / วัน
    อุณหภูมิ                  ชอบอุณหภูมิ ประมาณ 18- 22 องศาเซลเซียส
    ความชื้น                 ต้นกาแฟต้องการความชื้นสูงมาก ควรฉีดพ่นละอองน้ำให้บ่อย ควรให้น้ำอาทิตย์ละครั้ง
    น้ำ                           ควรให้น้ำอาทิตย์ละครั้ง
    ดินปลูก                   ดินร่วน 2 ส่วน ใบไม้ผุ 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน                                                                     
    ปุ๋ย                           ควรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักละลายน้ำรดอย่างเจือจางทุกๆ 15 วัน
    กระถาง                    ควรเปลี่ยนกระถางทุกปี

    การขยายพันธุ์          เพาะเมล็ด

    โรคและแมลง          ไม่ค่อยพบโรครบกวน ส่วนมากจะเป็นเพลี้ยหอย

    การป้องกันกำจัด     ใช้ยาไซกอน (cygon) อัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่วโคน

ถิ่นกำเนิดต้นกาแฟ
เอธิโอเปีย

ต้นกาซะลองคำ

ชื่ออื่น กากี (สุราษฎร์ธานี), กาซะลองคำ (เชียงราย), แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง), จางจืด (เชียงใหม่), สะเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไปต้นกาซะลองคำ
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 6–20 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบแหลม ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก เมื่อแก่แตกเป็นสองซีกเมล็ดมีปีก

ขยายพันธุ์ต้นกาซะลองคำ
โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และแยกหน่อ

สภาพที่เหมาะสมต้นกาซะลองคำ
ดินร่วนปนทราย

ถิ่นกำเนิดต้นกาซะลองคำ
ขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ

ต้นกันเกรา


ต้นกันเกรา เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น นอกจากนี้ต้นกันเกราเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ด้วย
กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลาง เรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลา ส่วนภาคใต้ เรียก ตำแสง หรือตำเสา ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีของต้นกันเกราในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกรา หมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใดๆ ชื่อตำเสา คือ จะเป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่างๆเจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็น ลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด
              
ต้นกันเกรามีลักษณะต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่เป็นระเบียบ ใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปมนขนาดกว้าง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ยาว 8 - 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือยาวเรียว ฐานใบแหลม โคนมน ใบเขียวมันวาว มีทรงพุ่งเป็นทรงฉัตรแหลมสวยงาม ดอก เริ่มบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง กลิ่นหอม ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มม. สีส้มแล้วเปลี่ยนไปเป็นสีแดงเลือดนกเมื่อแก่เต็มที่ มีเมล็ดขนาดเล็กเป็น จำนวนมากนิเวศวิทยา ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้น และตามที่ต่ำ ที่ชื้นแฉะใกล้น้ำ ทั่วทุกภาคของประเทศไทยออกดอก เมษายน - มิถุนายน เป็นผล มิถุนายน - กรกฎาคมขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
ประโยชน์ได้แก่ เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน ใช้ในการก่อสร้าง นิยมใช้ทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เข้ายาบำรุงธาตุ แน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปลูกเป็นไม้ประดับ ลักษณะลำต้นที่สวยงามทั้งลวดลายของเปลือกและเนื้อไม้ เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ มีน้ำมันหอมระเหยที่เปลือก
                
ต้นกันเกรามีความสวยงามและกลิ่นหอมไม่เหมือนใคร ทั้งยังเป็นไม้มงคล 1 ใน 9 ชนิด เช่นเดียวกับราชพฤกษ์ ขนุน ชัยพฤกษ์ ทองหลาง ไผ่สีสุก ทรงบาดาล สัก และพะยูง ที่คนนิยมนำมาใช้ในพิธีกรรมเมื่อเวลาก่อสร้างบ้านเรือนให้เป็นสิริมงคล นอกจากนั่นคนอีสานยังนำมาบูชาพระโดยเฉพาะเมื่อเวลางานบุญบวชนาคช่วงเดือนพฤษภาคมหรือเดือน 6 ของทุกปี ก่อนที่จะถึงวันบวชนาคผู้ที่จะบวชนาคต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจอย่างดี เรียกว่า การเข้านาค ผู้ที่จะบวชนาคซึ่งต้องมาเข้านาคนั้นจะต้องแต่งกายชุดสุภาพ มีผ้าแพรหรือผ้าขาวม้าพับอย่างงามพาดบ่า รวมทั้งละเว้นอบายมุขต่างๆ พิธีกรรมหนึ่งของการเข้านาคจะมีการแห่ดอกไม้ก็คือดอกมันปลาหรือดอกกันเกรา จุดเริ่มต้นของขบวนอยู่ที่วัดจากนั้นก็เคลื่อนขบวนแห่ไปตามถนน บ้านเรือนท้องไร่ ท้องนา เพื่อไปเก็บดอกมันปลามาบูชาพระ พร้อมที่จะเข้าพิธีอุปสมบท ในระหว่างการแห่ก็จะมีการตีกลองร้องเพลงไปโดยตลอด เวลาเริ่มแห่ก็ช่วงบ่ายๆพอขบวนจะกลับถึงวัดก็ใกล้ค่ำ พิธีกรรมต่อไปคือนำช่อของดอกมันปลาที่เก็บมาในขบวนแห่จุ่มน้ำแล้วสะบัดให้น้ำจากดอกมันปลาไปสรงพระพุทธรูปบูชาขอพรเป็นอันเสร็จพิธี ผู้ที่ร่วมพิธีกรรมตั้งแต่การแห่จนแล้วเสร็จพิธีจะมีพระ 1 รูป สามเณร คนที่จะอุปสมบท หญิงสาวที่อาจจะเป็นแฟนหรือเพื่อนๆของผู้ที่จะอุปสมบท รวมทั้งเด็กๆด้วย พิธีกรรมนี้จะทำจนกว่าจะถึงวันอุปสมบท เมื่อถึงวันอุปสมบทก็มีพิธีกรรมตามประเพณีซึ่งไม่ขอกล่าวในที่นี้

ต้นกะพ้อ


กะพ้อเป็นปาล์มพื้นเมืองที่มีอยู่ทั่วไปในบ้านเรา กะพ้อมีต้นเป็นกอสูงประมาณ 15 - 20 ฟุต ใบรูปใบพัด ก้านใบยาวเล็กมีใบย่อยแตกออกจากกันและแตกออกจากจุดเดียวกัน ที่ก้านใบแต่ละใบจะมีใบย่อยประมาณ 12 - 18 ใบ ตามใบย่อยมีรอยจีบ ปลายใบตัด ใบย่อยยาวประมาณ 1 ฟุต และกว้าง 4-5 นิ้ว ใบสีเขียวเข้ม เมื่อเจริญ เติบโตไปสักระยะหนึ่งจะเกดหน่ออกมาตามบริเวณโคนต้นมากมายกะพ้อเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้งสามารถปลูกในสนามหญ้าเพื่อให้มันแตกกอเป็นพุ่มหรือจะทำเป็นสวนหย่อมก็ได้

การดูแลรักษา
แสง      ชอบแสงแดดจัด
น้ำ       ต้องการปริมาณน้ำพอสมควร
ดิน      ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะเจริฐเติบโตได้ดีในดินร่วน
ปุ๋ย      ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง
การขยายพันธุ์   โดยการเพาะเมล็ด และแยกหน่อ
โรคและแมลง    ทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี

ประโยชน์ต้นกะพ้อ
ใบอ่อนของต้นกะพ้อ นอกจากจะนำไปห่อขนมต้ม ยังนำไปทำงานประดิษฐ์ได้ เช่นงานจักสานพัดใบกะพ้อ รวมไปถึงใบกะพ้อที่แก่จัดๆ นำไปทำหลังคาแทนการมุงด้วยใบจาก ก้านจากใบแก่ๆ นำไปทำกระด้ง แข็งแรงได้เทียบเท่าไม้ไผ่เลยทีเดียว

ต้นกวนอิมทอง

ต้นกวนอิมทองเป็นพรรณไม้ยืนต้น คล้ายกับสกุลหวายลำต้นโตประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลำต้นกวนอิมทองมีความสูงประมาณ 1-3 เมตรลำต้นกลมตรงเล็กลำต้นเป็นข้อๆสีเขียวไม่มีกิ่งก้านสาขามีการเจริญการยืดตัวของข้อใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากส่วนยอดของลำต้นมีกาบใบหุ้มห่อลำต้นสลับกันเป็นชั้นๆตามข้อของลำต้นใบแคบเรียวยาวปลายใบแหลมโคนใบสอบลงมาถึง กาบใบ พื้นใบมีสีเขียวหรืมีสีขาวพาดตามยาวของใบ ขนาดความกว้างของใบประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตรกวนอิมทองต่างกับกวนอิมเงินที่ลำต้นมีสีขาวหรือเหลืองส่วนของใบนั้นกวนอิมทองพื้นใบสีเขียวอ่อนสลับกับสี เหลืองอ่อน หรือเหลืองทองพาดไปตามยาวของใบ

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกต้นกวนอิมทอง
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นกวนอิมทองไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูกต้นกวนอิมทอง
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงสูงขนาด 8-12 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ :    ดินร่วนอัตรา 1:1:1ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง1-2 ปี/ครั้งเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและการแตกกอของทรงพุ่มโตขึ้นนอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเปลี่ยนดินปลูกใหม่ เพื่อทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้บริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้บริเวณหน้าบ้าน เพราะจะได้เป็นเสน่ห์แก่บ้าน ขนาดหลุมปลูก 20 x 20 x 20 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:2    ผสมดินปลูก:

ต้นกล้วยพัด


ต้นกล้วยพัดเป็นพืชอวบน้ำที่มีลักษณะแตกต่างไปจากกล้วยธรรมดาโดยทั่ว ๆ ไป คือใบจะมีลักษณะเหมือนกับใบกล้วยแต่จะมีความแข็งกว่ามาก แกนของใบต้นกล้วยพัดจะแผ่ออกสองข้าง ทำให้มีลักษณะคล้ายพัดขนาดใหญ่ การเรียงตัวของก้านใบนั้น จะเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย แลดูสวยงามมาก ลำต้นจะเกิดเป็นต้นเดี่ยว ๆ สูงประมาณ 6-9 เมตรแม้จะปลูกเอาไว้ต้นเดียวก็สวยงามไม่น้อย

การดูแลรักษา
แสง       กล้วยพัดชองแสงแดดจัด ควรปลูกไว้กลางแจ้ง
น้ำ         ให้น้ำพอประมาณอย่าให้ขังแฉะ ต้องการความชื้นสูง
ดิน         ดินที่ปลูกควรเป็นดินที่อมความชื้นได้บ้าง
ปุ๋ย         ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก บริเวณโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง
การขยายพันธ์     โดยการแยกหน่อ
โรคและแมลง       ทนทางต่อโรคและแมลงมาก

ประโยชน์ต้นกล้วยพัด
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป กาบดอกแข็ง ใช้ทำเครื่องประดับและหัตถกรรมได้หลายชนิด

ต้นกระพี้จั่น

ชื่ออื่น
จั่น ปี้จั่น (ทั่วไป), ปี้จั่น (ภาคเหนือ), กระพี้จั่น (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป
ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8–20 เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบทู่ โคนใบมนหรือสอบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจางกว่า ใบแก่เกลี้ยง มีขนประปรายตามเส้นกลางใบด้านล่าง ดอกรูปดอกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ

ขยายพันธุ์ต้นกระพี้จั่น
โดยการเพาะเมล็ด ปักชำราก

สภาพที่เหมาะสม
สภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ทนแล้งได้ดี

ถิ่นกำเนิดต้นกระพี้จั่น
เอเชียเขตร้อน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย

ต้นกระบาก

ชื่ออื่น
กระบาก ตะบาก (ลำปาง), กระบากขาว (ชลบุรี, ชุมพร, ระนอง), กระบากโคก (ตรัง), กระบากช่อ กระบากด้าง กระบากดำ (ชุมพร), กระบากแดง (ชุมพร, ระนอง), ชอวาตาผ่อ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บาก (ชุมพร), ประดิก (เขมร-สุรินทร์), พนอง (จันทบุรี, ตราด), หมีดังว่า (กะเหรี่ยง-ลำปาง)

ลักษณะทั่วไป
ต้นกระบากเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 30–40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกในสีเหลืองอ่อนเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน หลังใบมีขนสีเหลือง ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ท้องใบมีขน ดอกสีขาวปนเหลืองอ่อน ขนาดเล็ก ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นผลแห้งทรงกลม ผิวเรียบ มีปีกยาว 2 ปีก

ขยายพันธุ์ต้นกระบาก
เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม
สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิดต้นกระบาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย