วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ต้นกระบาก

ชื่ออื่น
กระบาก ตะบาก (ลำปาง), กระบากขาว (ชลบุรี, ชุมพร, ระนอง), กระบากโคก (ตรัง), กระบากช่อ กระบากด้าง กระบากดำ (ชุมพร), กระบากแดง (ชุมพร, ระนอง), ชอวาตาผ่อ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บาก (ชุมพร), ประดิก (เขมร-สุรินทร์), พนอง (จันทบุรี, ตราด), หมีดังว่า (กะเหรี่ยง-ลำปาง)

ลักษณะทั่วไป
ต้นกระบากเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 30–40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกในสีเหลืองอ่อนเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน หลังใบมีขนสีเหลือง ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ท้องใบมีขน ดอกสีขาวปนเหลืองอ่อน ขนาดเล็ก ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นผลแห้งทรงกลม ผิวเรียบ มีปีกยาว 2 ปีก

ขยายพันธุ์ต้นกระบาก
เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม
สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิดต้นกระบาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น